ที่ตั้งอาณาเขตจังหวัด พิจิตรอยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา 50 ลิปดา กับ 16 องศา และเส้นแวงที่ 99 องศา กับ 150 องศา 45 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,831,883 ไร่ มีความกว้างประมาณ 72 กิโลเมตร ความยาวประมาณ 77 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 346 กิโลเมตร และรถไฟระยะทางประมาณ 351 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางระกำ และอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชุมแสง และอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูณ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ การปกครอง
|
"พิจิตร" แปลว่า "งาม" เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ "พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8" พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์
|
ธงประจำจังหวัดพิจิตร มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น 5 แถบ ใช้สีเขียวเข้ม 3 แถบ สลับด้วย สีขาว 2 แถบ ตราประจำจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วยสระและต้นโพธิ์ สระ หมายถึง เมืองสระหลวง ซึ่งเป็นชื่อเดิมของจังหวัด ตามพงศาวดารเหนือ กล่าวว่าเมืองนี้เป็นเมืองโบราณสมัยขอมและเป็นหัวเมืองเอกตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีพญาโคตระบองเป็นผู้สร้างเมือง ต้นโพธิ์ หมายถึง วัดโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับจากสงครามเมืองเชียงใหม่ ได้นำราชธิดาเมืองเชียงใหม่มาด้วย และได้พระราชทานให้แก่พระเพทราชา เมื่อกองทัพมาหยุดทัพ ณ ที่แห่งนี้ พระนางได้ประสูติบุตรชายที่ใต้ต้นมะเดื่อ บิดาจึงให้นามว่า “เจ้าเดื่อ” ต่อมาได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8” หรือพระเจ้าเสือหรือขุนหลวงสรศักดิ์ ระหว่างครองกรุงศรีอยุธยานั้นพระองค์ได้เสด็จมาคล้องช้างเมืองพิจิตร เลยไปเยี่ยมมาตุภูมิเดิมที่หมู่บ้านโพธิ์ประทับช้าง โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระอารามขึ้นที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง
สัญลักษณ์ |
ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน |